Member Success Stories

Making a difference with Oracle Academy

Share this story

เรืองศักดิ์ ตระกูลพุทธิรักษ์

Read in English

บทความนี้จะพาท่านไปเรียนรู้กับ ดร.เรืองศักดิ์ ตระกูลพุทธิรักษ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประเทศไทย

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ประเทศไทย เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ ด้วยหลักการพัฒนาองค์ความรู้และแนวทางการเรียนรู้

มศว ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2492 เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกในประเทศไทยที่มุ่งเน้นการฝึกอบรมครูเพียงอย่างเดียว โดยปัจจุบันยังคงเน้นการพัฒนาตนเองภายในสถาบัน และการสอนควบคู่ไปกับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการ นั่นคือการเตรียมนิสิตให้สามารถนำทักษะและความสามารถของตนเองไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทย ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยประกอบด้วย 4 วิทยาลัย และ 17 คณะใน 2 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตประสานมิตร ในกรุงเทพฯ และวิทยาเขตองครักษ์ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 70 กิโลเมตร โดยนิสิตมากกว่า 25,000 คน ลงทะเบียนเรียนหลักสูตรปริญญาในสาขาการแพทย์ ทันตกรรม การพยาบาล การศึกษา มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาวิชาอื่นๆ

ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ของ มศว เริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ. 2532 ในหลักสูตรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาการข้อมูล ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence:AI and Machine Learning:ML) เทคโนโลยีมือถือ การประมวลผลแบบคลาวด์ ระบบเครือข่าย และความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ นั้น นำโดยประธานหลักสูตร ดร.เรืองศักดิ์ ตระกูลพุทธิรักษ์ ผู้ออกแบบและกำกับดูแลหลักสูตร จัดชั้นเรียน และขับเคลื่อนกิจกรรมทางวิชาการที่สำคัญ

ดร.เรืองศักดิ์ ตระกูลพุทธิรักษ์ เริ่มเป็นอาจารย์ที่ มศว ในปี พ.ศ. 2546 โดยเริ่มใช้ตำราเรียนของ Oracle และแหล่งข้อมูลฟรีที่เกี่ยวข้องกับ Oracle ตั้งแต่ พ.ศ. 2555 และในปี พ.ศ. 2563 รับผิดชอบในการให้ มศว เข้าเป็นสมาชิก Oracle Academy ทั้งนี้ ดร.เรืองศักดิ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปริญญาโทสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และปริญญาเอกด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจาก Monash University ประเทศออสเตรเลีย

Oracle Academy: คุณช่วยบอกเราหน่อยได้ไหมว่าหลักสูตรปริญญาใดที่สอนในแผนกของคุณ?

เรืองศักดิ์ ตระกูลพุทธิรักษ์: แน่นอน เรามี 3 โปรแกรมหลัก ได้แก่ ปริญญาตรีสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ปริญญาตรีสาขาวิชาวิศวกรรมข้อมูล และปริญญาโทสาขาวิชาวิทยาการข้อมูล โดยที่ วท.บ.วิทยาการคอมพิวเตอร์และ วท.ม.วิทยาการข้อมูลมีการสอนเป็นภาษาไทย และ วท.บ.วิศวกรรมข้อมูลจะมีสอนทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย นอกจากนี้เรายังมีโปรแกรมที่ไม่ใช่ปริญญา ที่เรียกว่า Data Science for Industry 4.0 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ reskill and upskill ของรัฐบาล โดยดึงดูดผู้คนที่ทำงานในสาขาอื่นๆ ที่ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูล

Oracle Academy: และคุณสอนส่วนใดบ้างของหลักสูตร Oracle Academy?

เรืองศักดิ์ ตระกูลพุทธิรักษ์: เราใช้ทรัพยากรในการสอน หลักการพื้นฐานของระบบฐานข้อมูล และการเขียนโปรแกรม ด้วยภาษา Java นอกจากนี้ คณาจารย์ในภาควิชายังได้ลงทะเบียนใน Oracle Academy Cloud Program อีกด้วย โดยเน้นการใช้งานฐานข้อมูลบนระบบคลาวด์ ซึ่งผมได้ ผสมผสานหลักสูตร Database Foundations ของ Oracle Academy เข้ากับโครงสร้างหลักสูตรของ มศว ได้อย่างราบรื่น โดยที่นิสิตจะได้เรียนรู้แนวคิดพื้นฐานและฝึกทำงานร่วมกันในกิจกรรมภาคปฏิบัติ

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มศว ได้เปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนจากการเรียนรู้ในฐานะผู้รับ (passive learning) มาเป็นการเรียนรู้ในฐานะผู้ลงมือปฏิบัติ หรือ active learning ซึ่งเรียกว่าการเรียนรู้แบบเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ outcome-based learning โดยในบริบทดังกล่าว เป็นเรื่องดีที่หลักสูตรของ Oracle Academy นั้นมีโครงงานกิจกรรมที่อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง ทำให้การปฏิบัติเกิดผลลัพธ์ทีสามารถจับต้องได้ วิธีการดังกล่าวทำให้นิสิตมีโอกาสใช้ทักษะในสถานการณ์จริง และพัฒนาความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล

Oracle Academy: คุณช่วยบอกเราเกี่ยวกับนิสิตของคุณ จำนวนคณาจารย์ที่ใช้ทรัพยากรของ Oracle Academy และระบบนำส่งได้ไหม?

เรืองศักดิ์ ตระกูลพุทธิรักษ์: จากนิสิต 400 คน ในภาควิชาของผม มีประมาณ 200 คน ที่ได้สัมผัสกับหลักสูตรและทรัพยากรของ Oracle Academy โดยมี 150 คนในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และ 50 คนในสาขาวิศวกรรมข้อมูล ซึ่งนั่นคือการสร้าง Oracle Cloud account สำหรับนิสิต 200 คน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และนอกจากนี้ผมได้ใช้ Oracle APEX ในการสอนออนไลน์ สำหรับบุคลากรภายนอกที่ลงทะเบียนในโปรแกรม Data Science 4.0

ผมกำลังออกแบบหลักสูตรฐานข้อมูลทั่วไป สำหรับนิสิตนอกสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ผู้ที่ศึกษาธุรกิจ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือสาขาวิชาอื่นนอกเหนือจากคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะมีเพิ่มการใช้งานบัญชี Oracle Cloud เพื่อใช้ในการเรียนการสอนมากขึ้นอีกด้วย เรามีอาจารย์ผู้สอน จำนวน 6 ท่าน เชี่ยวชาญทางด้าน Database, Java และ Cloud และแบ่งออกเป็นระหว่างระดับปริญญาตรีและปริญญาโท เราคอยติดตามข่าวสารล่าสุดผ่านทาง Oracle Academy Member Hub และ Oracle Thailand ซึ่งได้แบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับนวัตกรรมและฟังก์ชันการทำงานใหม่ๆ กับเราและสถาบันสมาชิกอื่นๆ ทั้งหมดทั่วประเทศ

ด้วย Oracle Cloud นั้น ขณะนี้เรามีการใช้งาน learning management systems อยู่ 2 ระบบด้วยกัน คือ Moodle ซึ่งเป็น LMS หลักของมหาวิทยาลัย และ Oracle Academy Member Hub ซึ่งผมใช้ทั้ง 2 ระบบ สำหรับการจัดการเรียนการสอน และการนำเสนอเนื้อหาหลักสูตร การเข้าถึงแผนการสอนและแบบทดสอบ และการติดตามความก้าวหน้าของนิสิต ข้อดีเพิ่มเติมของระบบ Member Hub คือสามารถเป็นเหมือนกับห้องสมุดดิจิทัล ที่เต็มไปด้วยหลักสูตรการพัฒนาอาชีพ ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อให้นิสิตได้สำรวจเนื้อหาที่สนใจตามความต้องการในการเลือกเส้นทางอาชีพของตนเอง

การเข้าถึง Oracle Cloud นั้นยอดเยี่ยมมาก ทำให้เกิดความเท่าเทียม และลดความเหลื่อมล้ำในการจัดการศึกษา ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนา และไม่ใช่นิสิตทุกคนจะมีคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงที่บ้านสำหรับติดตั้ง Oracle Database การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันภาควิชาได้จัดเตรียมแล็ปท็อปในห้องเรียนสำหรับนิสิตทุกคน ซึ่งเชื่อมต่อกับ Oracle Cloud Infrastructure (OCI) ซึ่งประมวลผลบนระบบคลาวด์ ทำให้ช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างนิสิตที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองและนิสิตคนอื่นๆ

Oracle Academy: ขอเดาว่าพวกเขาทุกคนมุ่งมั่นที่จะได้รับรางวัล award of course completion ในหลักสูตรของ Oracle Academy ใช่ไหม?

เรืองศักดิ์ ตระกูลพุทธิรักษ์: แน่นอน ผมยินดีที่จะบอกว่า เรามีอัตราการสอบผ่านที่อยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม โดยในภาคการศึกษาที่แล้ว นั้น มี 98% ของนิสิตในรุ่น ประสบความสำเร็จในการสอบหลักสูตร Database Foundations และ 92% ในหลักสูตร Java Foundations พวกเขาทั้งหมดได้รับประกาศนียบัตร award of course completion จากการเรียนสำเร็จหลักสูตร นิสิตมีแรงจูงใจอย่างมากในการสอบปลายภาค เพราะจะมีผลต่อการใช้ในการสมัครงานในอนาคต โดยในขณะนี้ ผมกำลังดำเนินการเพื่อสร้างแรงจูงใจที่จะช่วยให้อัตรานิสิตที่สอบผ่าน certificate ของ Oracle Academy เป็น 100% ในปีนี้

โดยทั่วไปแล้ว มีฐานการใช้งาน Oracle จำนวนใหญ่ในประเทศไทยและเอเชีย และเราเน้นย้ำนิสิตเกี่ยวกับเส้นทางอาชีพ ที่ทักษะการใช้งาน Database ของ Oracle จะเป็นทรัพย์สินที่มีค่าแก่ตัวนิสิตเอง

Oracle Academy: แล้วเรื่องของ Oracle professional certifications เป็นอย่างไรบ้าง?

 

การเข้าถึง Oracle Cloud นั้นยอดเยี่ยมมาก ทำให้เกิดความเท่าเทียม และลดความเหลื่อมล้ำในการจัดการศึกษา ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนา และไม่ใช่นิสิตทุกคนจะมีคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงที่บ้านสำหรับติดตั้ง Oracle Database การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันภาควิชาได้จัดเตรียมแล็ปท็อปในห้องเรียนสำหรับนิสิตทุกคน ซึ่งเชื่อมต่อกับ Oracle Cloud Infrastructure (OCI) ซึ่งประมวลผลบนระบบคลาวด์ ทำให้ช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างนิสิตที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองและนิสิตคนอื่นๆ

เรืองศักดิ์ ตระกูลพุทธิรักษ์: ผมได้แนะนำและกระตุ้นให้นิสิตเรียนรู้เพิ่มเติมในส่วนของ Oracle professional certifications เพื่อใช้ในการปรับปรุงเรซูเม่ของพวกเขา และเตรียมความพร้อมสำหรับโอกาสในการทำงานในอนาคต โดยในปีที่แล้ว นิสิตจำนวน 40 คนในวิชาของผมที่ผ่านการสอบและได้ใบรับรอง OCI Foundations certificate และนอกเหนือจากการเรียนการสอนในภาควิชาแล้ว นิสิตแต่ละคนจะได้รับการฝึกประสบการณ์จริงในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างน้อย 6 เดือน จากการฝึกงาน 2 เดือน และการทำสหกิจศึกษา 4 เดือนในปีสุดท้าย โดยที่พวกเขาสามารถแบ่งเวลาในการทำงานครึ่งหนึ่ง และเวลาเรียนอีกครึ่งหนึ่ง และบ่อยครั้งที่บริษัทที่นิสิตได้ไปฝึกงาน มักจะลงเอยด้วยการจ้างงานนิสิตเหล่านั้นเข้าทำงานเมื่อพวกเขาเรียนจบ

Oracle Academy: คุณมี interaction อย่างไรบ้าง กับ Oracle ecosystem?

เรืองศักดิ์ ตระกูลพุทธิรักษ์: เมื่อเร็วๆ นี้ Oracle Academy จัดงานสัมมนาออนไลน์ webinar เพื่อแสดงให้เห็นว่าคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยสามารถใช้ Oracle Academy Cloud Program (OACP) ได้ฟรี เพื่อพัฒนาทักษะของนิสิตในด้าน cloud computing skill การสัมมนาออนไลน์ประกอบด้วยการสาธิตวิธีที่พวกเราที่ มศว ใช้งาน hands-on lab และการฝึกฝนเชิงปฏิบัติของ OACP ผู้เข้าร่วมจะได้รับความรู้เกี่ยวกับ OCI วิธีการใช้งานและส่วนประกอบต่างๆ ในการเรียนการสอน โดย session นี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากอาจารย์มหาวิทยาลัยทั่วประเทศไทย

นอกจากนี้ ในช่วง Easter break เรามีวิทยากรรับเชิญจากมหาวิทยาลัย Monash ในออสเตรเลียที่ผมเคยศึกษาอยู่ โดยบรรยายเป็นเวลา 2 วันเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ SQL Developer Modeler และ Oracle APEX สำหรับการพัฒนา low-code application development โดย session นั้นมีทั้งอาจารย์และนิสิตเข้าร่วม

ในท้ายที่สุด เรายังเชิญวิทยากรจากภาคอุตสาหกรรมในกรุงเทพฯ และที่อื่นๆ มาแบ่งปันประสบการณ์การใช้เทคโนโลยี Oracle Database อีกด้วย

Oracle Academy: ยอดเยี่ยม มีอะไรอีกที่คุณสนใจในแง่ของเหตุการณ์หรือการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเพิ่มเติมหรือไม่?

เรืองศักดิ์ ตระกูลพุทธิรักษ์: สิ่งหนึ่งที่ยังอยู่ในขั้นตอนแนวคิด คือ วิธีดึงดูดนักเรียนมัธยมปลายให้มาเรียนที่ มศว มากขึ้น โดยแบบสำรวจได้จัดอันดับหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ของเรา เป็นหลักสูตรที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทย โดยวิทยาการคอมพิวเตอร์กลายเป็นกระแส เนื่องจากมีผู้คนจำนวนมากที่ต้องการเป็นโปรแกรมเมอร์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ นักวิทยาการข้อมูล รวมถึงอาชีพอื่นๆ ในสายงานนี้ เพื่อใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้ ผมได้พูดคุยกับ Oracle Academy เกี่ยวกับแนวคิดในการจัดงาน Hackathon สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาในไทยที่มีชั้นเรียนคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว

โดยลักษณะของงานจะเป็น social coding event ซึ่งจำกัดผู้เข้าร่วมเพียง 50 คน โดยผู้สอนของเราจะถ่ายทอดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ data management เช่น การทำ data cleansing, data modelling รวมไปถึง APEX และ SQL ด้วยเครื่องมือเหล่านี้ นักเรียนจะแข่งขันกันเพื่อออกแบบ สร้าง และนำเสนอ solution ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อแก้ไขปัญหา กล่าวคือ Agenda ของผมนั้น คือ การค้นหานักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษที่เข้าร่วมกิจกรรม และสนับสนุนให้นักเรียนเหล่านั้นสมัครเข้าเรียนที่ มศว โดยโครงการนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ และมีความคืบหน้าไปบ้างแล้ว!

Oracle Academy: ขอให้โชคดีกับโครงการนี้! คุณสามารถแบ่งปันข้อเสนอแนะจากนักเรียนกับเราได้หรือไม่?

เรืองศักดิ์ ตระกูลพุทธิรักษ์: เราได้รับผลตอบรับเชิงบวกอย่างมากเกี่ยวกับหลักสูตรนี้ นักเรียนชื่นชมความเกี่ยวข้องของเนื้อหา การใช้งานจริง และโอกาสที่จะได้รับ badge และ certification

ผมเชื่อว่าความเกี่ยวข้องในโลกแห่งความเป็นจริงของการฝึกปฏิบัติ และโครงการทำให้พวกเขามีทักษะที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลที่แข็งแกร่งและความสามารถในการเข้าใจแนวคิดที่ซับซ้อน และผมได้เห็นการมีส่วนร่วมของนิสิตเพิ่มขึ้น ด้วยลักษณะของหลักสูตรที่เป็น interactive ทำให้พวกเขามีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนรู้ และนั่นคือสิ่งที่ มศว เน้น ซึ่งก็คือ outcome-based learning

Oracle Academy: และสำหรับ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ?

เรืองศักดิ์ ตระกูลพุทธิรักษ์: Oracle Academy Cloud Program เป็นทรัพยากรอันมีค่าสำหรับนิสิตของเรา ในการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี ฐานข้อมูล และประกอบอาชีพในสาขานี้ ทั้งนี้ สำหรับมหาวิทยาลัย การเข้าถึงแหล่งข้อมูลเหล่านี้ได้ฟรี คือ สิ่งที่เรารู้สึกขอบคุณ แน่นอนว่ามันเป็นสถานการณ์ที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ยิ่งนิสิตของเรา (รวมถึงนิสิตนักศึกษาทั่วโลก) มีความเชี่ยวชาญใน Oracle Database และ Oracle Cloud มากเท่าไหร่ Oracle เองก็จะยิ่งได้รับประโยชน์มากขึ้นจากการเป็น leadership position รวมถึงการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการซื้อขายอีกด้วย

Oracle Academy: แล้วคุณสนใจอะไรนอกเหนือจากการสอน?

เรืองศักดิ์ ตระกูลพุทธิรักษ์: ความสนใจอีกอย่างของผม ก็คือเหตุผลที่ว่าทำไมผมจึงมาอยู่ที่ มศว ซึ่งให้ความสำคัญกับการสอนเป็นอันดับแรก คือการยกระดับการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นิสิตเรียนรู้ด้วยความเต็มใจมากขึ้น และมีผลการเรียนรู้ที่ดีขึ้น นั่นเป็นความหลงใหลอย่างต่อเนื่องของผม

ไม่อย่างนั้นผมจะบอกว่า... ทำอาหาร! และใช่ ตั้งแต่ตอนที่ผมอยู่ที่ Melbourne ใช้ชีวิตอย่างมีงบประมาณที่จำกัดในช่วงปริญญาเอก ไม่สามารถออกไปกินข้าวนอกบ้านได้บ่อย ผมจึงสอนตัวเองทำอาหาร และยังทำอยู่ มันเป็นความเพลิดเพลินที่ยอดเยี่ยมเลยทีเดียว!

ขอขอบคุณ ดร.เรืองศักดิ์ ตระกูลพุทธิรักษ์ สำหรับความหลงใหลที่มีต่อโครงการ Oracle Academy และการเตรียมนิสิตให้พร้อมสร้างผลกระทบเชิงบวกที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

We enjoy highlighting Oracle Academy members who make an impact on their communities and students. If you would like to be featured or nominate another member, please contact us.